หลักสูตร “การบริหารจัดการโครงการเบื้องต้นสำหรับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง (Project Management for Procurement)”

 

                                                                                                                                                                               

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จัดการอบรม

หลักสูตร “การบริหารจัดการโครงการเบื้องต้นสำหรับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง

(Project Management for Procurement)”

                                                                                                                                          

หลักการและเหตุผล
 

                การจัดตั้งและดำเนินการโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) หรือหน่วยงานพัสดุ เป็นหน่วยงานสำคัญ มีส่วนเกี่ยวข้องและมีบทบาทค่อนข้างสูง ในบางหน่วยงานอาจเริ่มมีบทบาทตั้งแต่การจัดตั้งโครงการ และตลอดระยะเวลาของโครงการ รวมถึงการกลั่นกรองคัดเลือกโครงการ การคัดเลือกและจัดซื้อจัดจ้างผู้ดำเนินการโครงการ การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ สำหรับโครงการ จนกระทั่งตรวจรับแล้วเสร็จและปิดโครงการ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการต่อรองทั้งด้านขอบเขต งบประมาณ ระยะเวลา และเนื้อหาสัญญา ซึ่งในหลาย ๆ กรณีศึกษา องค์กรที่มีการประสานงานโดยการบูรณาการกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันของผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการและหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้องค์กร สามารถดำเนินการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ การบริหารจัดการ และความพึงพอใจทั้งของผู้ดำเนินการโครงการและผู้รับโครงการสูงขึ้น ในขณะที่ปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ ลดลงอย่างมีนัยยะ ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่ยังคงดำเนินการในรูปแบบเดิม คือมีการดำเนินการในลักษณะของการส่งผ่านงาน และขาดการบูรณาการกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกัน มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหามากขึ้น เมื่อความคาดหวังจากการดำเนินการในรูปแบบของโครงการสูงหรือซับซ้อนขึ้น ตามลักษณะของงานหรือธุรกิจที่มีวัฏจักร (Life Cycle) สั้นลง และมีตวามต้องการในการเปลี่ยนแปลงที่กระชับขึ้น

 

 จากกรณีศึกษาดังกล่าว ทำให้องค์กรสากลซึ่งพัฒนากรอบมาตรฐานการบริหารจัดการโครงการ ตระหนักถึงความสำคัญ ตลอดจนผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบของการบูรณาการกระบวนการ และทำการกำหนดการบูรณาการกระบวนการบริหารจัดการโครงการและการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นขององค์ความรู้หลักอย่างหนึ่งในกรอบมาตรฐานการบริหารจัดการโครงการที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์กระบวนการบริหารจัดการโครงการและการจัดซื้อจัดจ้าง และแนวทางในการบูรณาการกระบวนการ ในทำนองเดียวผู้จัดการโครงการที่มีประสบการณ์สูง จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อผนวกแผนการจัดซื้อจัดจ้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งและบูรณาการเข้ากับแผนในภาพรวม เพื่อลดช่องว่าง และส่งผลให้การดำเนินการและการบริหารจัดการโครงการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

                จากการประสานงานใกล้ชิดกับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างจากองค์กรต่าง ๆ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เห็นว่าหากสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการและการบริหารจัดการโครงการ ให้กับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง จะเป็นการส่งเสริมให้การบูรณาการกระบวนการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามทางเลือกในการฝึกอบรมในลักษณะนี้ค่อนข้างจำกัด ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จึงได้พัฒนา และจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การบริหารจัดการโครงการเบื้องต้นสำหรับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง (Project Management for Procurement)” ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งด้านการดำเนินการโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง และผู้สนใจทั่วไป ให้เข้าใจกระบวนการพื้นฐานในการบริหารจัดการโครงการ ความเชื่อมโยงกับกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง และการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการบูรณาการกระบวนการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนให้การบริหารจัดการโครงการและการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน หรือการดำเนินการอื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสม

 

วัตถุประสงค์
 

  1. พัฒนาความรู้ความเข้าใจหลักการเบื้องต้นในการบริหารจัดการโครงการให้แก่บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการ หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง และผู้สนใจทั่วไป
  2. ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบและเข้าใจกระบวนการพื้นฐานในการบริหารจัดการโครงการ ความเชื่อมโยงกับกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง และการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และแนวทางหรือเทคนิคในการบูรณาการกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบและเข้าใจลักษณะของความไม่แน่นอน หรือความเสี่ยงของโครงการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การจัดซื้อจัดจ้าง และกลยุทธ์ในการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ
  4. แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น การดำเนินการโครงการและการบริหารจัดการโครงการในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

 

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการ และผู้สนใจหลักการการบูรณาการบริการจัดการโครงการและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และสถาบันการศึกษา

 

เนื้อหาวิชา

  1. การบริหารจัดการโครงการเบื้องต้น
  2. วัฏจักรหรือไลฟ์ไซเคิล (Life Cycle) ในการบริการจัดการโครงการ
  3. กระบวนการบริการจัดการโครงการในภาพรวม (Project Management Processes)
  4. องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ (Knowledge Area – Project Procurement Management) และความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้หลักอื่น ๆ
  5. บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการโครงการในการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ
  6. ปัญหาหลักในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ ผู้เกี่ยวข้อง และผลกระทบ
  7. กระบวนการบริหารจัดการโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร และช่องว่างในการบูรณาการกระบวนการ
  8. การจัดตั้งโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ (Project Initiation)
  9. การวางแผนการ และการดำเนินการ การจัดซื้อจัดจ้างของโครงการให้มีประสิทธิภาพ
  10. บริหารจัดการ และการตรวจสอบและวัดผล การจัดซื้อจัดจ้างของโครงการให้มีประสิทธิภาพ
  11. การตรวจรับและปิดโครงการ (Project Closing)
  12. การดำเนินการอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการโครงการ
    1. หลักสากลในการกลั่นกรองและคัดเลือกโครงการ
    2. หลักสากลในการจัดทำเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR/RFP)

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

วันที่ 20 เมษายน  2561 (รวมระยะเวลา 1 วัน)  ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 น.

ณ ห้องพุทธรักษา ชั้น 3  อาคารสัมมนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

วิทยากร

อาจารย์เรืองฤทธิ์ รุ่งเรืองวัฒน์

  • ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการโครงการทั้งในและต่างประเทศจากองค์กรที่ปรึกษานานาชาติ
  • ประสบการณ์ฝึกอบรมการบริหารจัดการโครงการเบื้องต้น การบริหารจัดการโครงการระดับสูง การบริหารจัดการโครงการสำหรับการทดสอบเพื่อประกาศนียบัตรตามมาตรฐานสากล
  • อาจารย์พิเศษ หลักสูตรนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันการศึกษาของรัฐ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 

  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจหลักการและกระบวนการบริหารจัดการโครงการ และความเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร สามารถนำไปประยุกต์ใช้สนับสนุนการดำเนินการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากช่องว่างในการบูรณาการกระบวนการบริหารจัดการโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร และแนวทางในการป้องกัน

 

ค่าลงทะเบียนศึกษาอบรมในหลักสูตร

  • ค่าลงทะเบียนในหลักสูตรเป็นเงิน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ราคานี้รวม เฉพาะค่าเอกสาร ค่าอาหารกลางวัน  และอาหารว่าง เท่านั้น (ไม่รวมค่าที่พัก)
  • โอนเงินเข้าบัญชี ชื่อบัญชี มจธ.-บริการวิชาการ บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สาขาย่อยถนนประชาอุทิศ เลขที่ 330-1-16927-2

  • เช็คขีดคร่อมสั่งจ่าย “มจธ.-บริการวิชาการ”แล้ว (Fax ใบ Pay in มาที่เบอร์ 0-2427-9633)

 

หมายเหตุ :       

  1. กรุณาส่งใบสมัครก่อนการชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่ง (รับสมัครจำนวนไม่เกิน 50 คน)
  2. ชำระเงินค่าลงทะเบียนก่อน วันที่ 9 เมษายน  2561 มิฉะนั้นจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการเข้าร่วมการอบรม

 

สนใจสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

            คุณวรารักษ์  วิลัย

            ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

             โทร. 0-2470-9631  โทรสาร. 0-2427-9633

             (ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.)

                                                                                                                                                                               

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จัดการอบรม

หลักสูตร “การบริหารจัดการโครงการเบื้องต้นสำหรับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง

(Project Management for Procurement)”

                                                                                                                                          

หลักการและเหตุผล
 

                การจัดตั้งและดำเนินการโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) หรือหน่วยงานพัสดุ เป็นหน่วยงานสำคัญ มีส่วนเกี่ยวข้องและมีบทบาทค่อนข้างสูง ในบางหน่วยงานอาจเริ่มมีบทบาทตั้งแต่การจัดตั้งโครงการ และตลอดระยะเวลาของโครงการ รวมถึงการกลั่นกรองคัดเลือกโครงการ การคัดเลือกและจัดซื้อจัดจ้างผู้ดำเนินการโครงการ การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ สำหรับโครงการ จนกระทั่งตรวจรับแล้วเสร็จและปิดโครงการ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการต่อรองทั้งด้านขอบเขต งบประมาณ ระยะเวลา และเนื้อหาสัญญา ซึ่งในหลาย ๆ กรณีศึกษา องค์กรที่มีการประสานงานโดยการบูรณาการกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันของผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการและหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้องค์กร สามารถดำเนินการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ การบริหารจัดการ และความพึงพอใจทั้งของผู้ดำเนินการโครงการและผู้รับโครงการสูงขึ้น ในขณะที่ปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ ลดลงอย่างมีนัยยะ ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่ยังคงดำเนินการในรูปแบบเดิม คือมีการดำเนินการในลักษณะของการส่งผ่านงาน และขาดการบูรณาการกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกัน มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหามากขึ้น เมื่อความคาดหวังจากการดำเนินการในรูปแบบของโครงการสูงหรือซับซ้อนขึ้น ตามลักษณะของงานหรือธุรกิจที่มีวัฏจักร (Life Cycle) สั้นลง และมีตวามต้องการในการเปลี่ยนแปลงที่กระชับขึ้น

 

 จากกรณีศึกษาดังกล่าว ทำให้องค์กรสากลซึ่งพัฒนากรอบมาตรฐานการบริหารจัดการโครงการ ตระหนักถึงความสำคัญ ตลอดจนผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบของการบูรณาการกระบวนการ และทำการกำหนดการบูรณาการกระบวนการบริหารจัดการโครงการและการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นขององค์ความรู้หลักอย่างหนึ่งในกรอบมาตรฐานการบริหารจัดการโครงการที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์กระบวนการบริหารจัดการโครงการและการจัดซื้อจัดจ้าง และแนวทางในการบูรณาการกระบวนการ ในทำนองเดียวผู้จัดการโครงการที่มีประสบการณ์สูง จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อผนวกแผนการจัดซื้อจัดจ้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งและบูรณาการเข้ากับแผนในภาพรวม เพื่อลดช่องว่าง และส่งผลให้การดำเนินการและการบริหารจัดการโครงการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

                จากการประสานงานใกล้ชิดกับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างจากองค์กรต่าง ๆ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เห็นว่าหากสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการและการบริหารจัดการโครงการ ให้กับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง จะเป็นการส่งเสริมให้การบูรณาการกระบวนการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามทางเลือกในการฝึกอบรมในลักษณะนี้ค่อนข้างจำกัด ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จึงได้พัฒนา และจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การบริหารจัดการโครงการเบื้องต้นสำหรับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง (Project Management for Procurement)” ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งด้านการดำเนินการโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง และผู้สนใจทั่วไป ให้เข้าใจกระบวนการพื้นฐานในการบริหารจัดการโครงการ ความเชื่อมโยงกับกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง และการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการบูรณาการกระบวนการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนให้การบริหารจัดการโครงการและการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน หรือการดำเนินการอื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสม

 

วัตถุประสงค์
 

  1. พัฒนาความรู้ความเข้าใจหลักการเบื้องต้นในการบริหารจัดการโครงการให้แก่บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการ หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง และผู้สนใจทั่วไป
  2. ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบและเข้าใจกระบวนการพื้นฐานในการบริหารจัดการโครงการ ความเชื่อมโยงกับกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง และการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และแนวทางหรือเทคนิคในการบูรณาการกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบและเข้าใจลักษณะของความไม่แน่นอน หรือความเสี่ยงของโครงการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การจัดซื้อจัดจ้าง และกลยุทธ์ในการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ
  4. แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น การดำเนินการโครงการและการบริหารจัดการโครงการในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

 

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการ และผู้สนใจหลักการการบูรณาการบริการจัดการโครงการและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และสถาบันการศึกษา

 

เนื้อหาวิชา

  1. การบริหารจัดการโครงการเบื้องต้น
  2. วัฏจักรหรือไลฟ์ไซเคิล (Life Cycle) ในการบริการจัดการโครงการ
  3. กระบวนการบริการจัดการโครงการในภาพรวม (Project Management Processes)
  4. องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ (Knowledge Area – Project Procurement Management) และความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้หลักอื่น ๆ
  5. บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการโครงการในการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ
  6. ปัญหาหลักในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ ผู้เกี่ยวข้อง และผลกระทบ
  7. กระบวนการบริหารจัดการโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร และช่องว่างในการบูรณาการกระบวนการ
  8. การจัดตั้งโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ (Project Initiation)
  9. การวางแผนการ และการดำเนินการ การจัดซื้อจัดจ้างของโครงการให้มีประสิทธิภาพ
  10. บริหารจัดการ และการตรวจสอบและวัดผล การจัดซื้อจัดจ้างของโครงการให้มีประสิทธิภาพ
  11. การตรวจรับและปิดโครงการ (Project Closing)
  12. การดำเนินการอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการโครงการ
    1. หลักสากลในการกลั่นกรองและคัดเลือกโครงการ
    2. หลักสากลในการจัดทำเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR/RFP)

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

วันที่ 20 เมษายน  2561 (รวมระยะเวลา 1 วัน)  ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 น.

ณ ห้องพุทธรักษา ชั้น 3  อาคารสัมมนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

วิทยากร

อาจารย์เรืองฤทธิ์ รุ่งเรืองวัฒน์

  • ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการโครงการทั้งในและต่างประเทศจากองค์กรที่ปรึกษานานาชาติ
  • ประสบการณ์ฝึกอบรมการบริหารจัดการโครงการเบื้องต้น การบริหารจัดการโครงการระดับสูง การบริหารจัดการโครงการสำหรับการทดสอบเพื่อประกาศนียบัตรตามมาตรฐานสากล
  • อาจารย์พิเศษ หลักสูตรนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันการศึกษาของรัฐ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 

  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจหลักการและกระบวนการบริหารจัดการโครงการ และความเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร สามารถนำไปประยุกต์ใช้สนับสนุนการดำเนินการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากช่องว่างในการบูรณาการกระบวนการบริหารจัดการโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร และแนวทางในการป้องกัน

 

ค่าลงทะเบียนศึกษาอบรมในหลักสูตร

  • ค่าลงทะเบียนในหลักสูตรเป็นเงิน 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ราคานี้รวม เฉพาะค่าเอกสาร ค่าอาหารกลางวัน  และอาหารว่าง เท่านั้น (ไม่รวมค่าที่พัก)
  • โอนเงินเข้าบัญชี ชื่อบัญชี มจธ.-บริการวิชาการ บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สาขาย่อยถนนประชาอุทิศ เลขที่ 330-1-16927-2

  • เช็คขีดคร่อมสั่งจ่าย “มจธ.-บริการวิชาการ”แล้ว (Fax ใบ Pay in มาที่เบอร์ 0-2427-9633)

 

หมายเหตุ :       

  1. กรุณาส่งใบสมัครก่อนการชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่ง (รับสมัครจำนวนไม่เกิน 50 คน)
  2. ชำระเงินค่าลงทะเบียนก่อน วันที่ 9 เมษายน  2561 มิฉะนั้นจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการเข้าร่วมการอบรม

 

สนใจสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

            คุณวรารักษ์  วิลัย

            ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

             โทร. 0-2470-9631  โทรสาร. 0-2427-9633

             (ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.)

 


ไฟล์แนบข่าว (คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์แนบ)


Share this post