ข้อกำหนดการเขียนบทความวิจัย
เพื่อการนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ
“การบูรณาการงานวิจัยท้องถิ่นด้านบริหารธุรกิจสู่ประชาคมอาเซียน”
คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ผู้เขียนบทความจะต้องจัดเตรียมบทความให้อยู่ในรูปแบบของบทความวิจัย (Research Article) ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

  1. ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย
    1. ชื่อบทความ (Title) บทความภาษาอังกฤษและภาษาไทยใช้ตัวอักษร TH  SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ พิมพ์ชื่อภาษาไทยก่อนชื่อภาษาอังกฤษ
    2. ชื่อผู้เขียน(Authors) ให้อยู่ถัดจากชื่อเรื่อง จัดชิดขวา ระบุผู้เขียนทุกคนเฉพาะชื่อ นามสกุล  ใช้ตัวเลขอารบิกตัวเล็กกำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลทุกคน เรียงลำดับตัวเลขหน้าชื่อผู้เขียนคนสุดท้ายให้ระบุคำว่า “และ”
    3. ตำแหน่งและที่อยู่ของผู้เขียน ระบุไว้ที่เชิงอรรถ (Footnote) จัดชิดซ้าย ระบุข้อมูลผู้เขียนทุกคน ตัวอย่าง

1 นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี abc@yahoo.com
2รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี xyz@yahoo.com

    1. บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่ควรเกินอย่างละ 10-15 บรรทัด หรือ 150-200 คำไม่ควรเกิน 2 ย่อหน้า และไม่มีหัวข้อย่อย
    2. คำสำคัญ (Keywords) คำสำคัญไม่ควรเกิน 5 คำ ไม่ต้องมีคำว่า “และ (and)” หน้าคำสุดท้าย คำสำคัญภาษาไทยไม่ต้องมีเครื่องหมายใด ๆ คั่นระหว่างคำ เขียนคำสำคัญภาษาไทยต่อจากบทคัดย่อภาษาไทย ส่วนคำสำคัญภาษาอังกฤษให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (Comma) คั่นระหว่างคำและเขียนคำสำคัญภาษาอังกฤษต่อจากบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ตัวอย่าง

คำสำคัญ:การจัดการ แผนพัฒนาชุมชน การพัฒนาสังคม
Keywords: Management, Community plan, Social Development

  1. เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
    1. บทนำ (Introduction) ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง บทนำควรเขียนรูปแบบเรียงความให้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
    2. วัตถุประสงค์ (Research Objectives) คือข้อความที่ผู้วิจัยกำหนดว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงใดบ้าง
    3. ขอบเขตการวิจัย (Research Scopes) คือการกำหนดขอบเขตของประชากร ขอบเขตของตัวแปร และขอบเขตของช่วงเวลาอย่างชัดเจน
    4. กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) คือการสรุปกรอบความคิดในการวิจัยทางทฤษฎีที่เป็นของตนเองอย่างชัดเจน
    5. ข้อสมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)(Research Hypothesis) คือข้อความที่กำหนดขึ้นตามความคิดที่คาดหวังว่าผลการวิจัยจะเป็นไปในลักษณะใด
    6. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Method) ประกอบด้วยประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
    7. ผลการวิจัย (Research Results) คือข้อมูลที่ตอบตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
    8. สรุปการวิจัย(Research Conclusions) ประกอบด้วย สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
    9. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) (Acknowledgement) ระบุแหล่งทุน หรือผู้มีส่วนสนับสนุนในการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จ
    10.  ภาพประกอบ (ถ้ามี) ให้ระบุชื่อรูปภาพหลังแสดงรูปภาพ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ดังตัวอย่าง

http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit3/SUBM1/pic52.jpg
ภาพที่ 1พฤติกรรมผู้บริโภค

    1.  ตาราง  (ถ้ามี) ให้ระบุชื่อตารางก่อนแสดงตารางข้อมูล จัดชิดซ้าย และในการพิมพ์ตารางกำหนดให้มีมีเส้นตารางในแนวนอนและแนวตั้งภายในตาราง ไม่มีเส้นตารางในแนวตั้งขอบด้านซ้ายและขวาของตาราง ดังตัวอย่าง

ตารางที่ 1พื้นที่อนุรักษ์และอุทยานแห่งชาติ


ประเทศ

จังหวัด

พื้นที่อนุรักษ์

ไทย

ศรีสะเกษ

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก

ลาว

สาละวัน

ป่าสงวนแห่งชาติพูเชียงทอง
ป่าสงวนแห่งชาติเซซับ

กัมพูชา

พระวิหาร

ป่าสงวนพระวิหาร

    1. เอกสารอ้างอิง (References) รายการแหล่งอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้เขียนได้นำมาประกอบการเรียบเรียงเป็นบทความ โดยเขียนตามรูปแบบที่กำหนดให้ดังนี้

 

ตัวอย่าง
มัทนา สุขใจ และอุษา ใจดี (2554: 153) กล่าวว่า   หรือ(มัทนา สุขใจ และอุษา ใจดี, 2554: 153)
Miller (2010: 299-301) กล่าวว่า                              หรือ (Miller, 2010: 299-301)
จากรายงานของ WHO (2010: 24-26)               หรือ (WHO, 2010: 24-26)

 การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ให้วงเล็บชื่อ-สกุลผู้แต่ง (สำหรับคนไทย) หรือชื่อสกุล (สำหรับชาวต่างประเทศ) หรือชื่อนิติบุคคลที่เป็นผู้จัดทำเอกสาร และปีพิมพ์ของเอกสารที่อ้างอิงนำหน้าหรือต่อท้ายข้อความที่อ้างดังตัวอย่าง

 

 

      1. การอ้างอิงท้ายเรื่องใช้รูปแบบดังตัวอย่าง

      อ้างหนังสือ
Text Box: ตัวอย่าง  งามพิศ  ศรีบัว. (2554). ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากการปลูกยาสูบของเกษตรอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  มานพ  วราภักดิ์. (2554). หลักภาษาโคบอล. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้างบทความในวารสาร
Text Box: ตัวอย่าง  ศักดิ์ชาย โชติกุล และคณะ. “การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าไหมรากบัว”, สารศาสตร์. 4, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2554): 1-13.

อ้างสารสนเทศออนไลน์
Text Box: ตัวอย่าง   การสื่อสารแห่งประเทศไทย. เศรษฐกิจพอเพียง (ออนไลน์) 2554.(อ้างเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2554). จาก http://www.mcot.or.th/king/king_news16.html